วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

คลิปวิดีโอ


สมาชิกในกลุ่ม

 
นายคมวัฏ โชติพิพัฒน์วงศ์ ชั้น ม.6/1 เลขที่ 1

 
นายวิธูสิริ รอดสมบูรณ์ ชั้น ม.6/1 เลขที่ 4
 
 
นายภัทรพล ภัทรทิพากร ชั้น ม.6/1 เลขที่ 6

 
นายปุณยวีร์ จึงเจริญพูน ชั้น ม.6/1 เลขที่ 9
 
 
นายสิรวิชญ์ ปิยะอัศวจินดา ชั้น ม.6/1 เลขที่ 19

 
นายปภาวินท์ ดุลยสิทธิกุล ชั้น ม.6/1 เลขที่ 20
 
 
นายสิปปภาส โยมา ชั้น ม.6/1 เลขที่ 21

 
นายพงศกร รอดกระจับ ชั้น ม.6/1 เลขที่ 23
 
 
นายชัยวัฒน์ สิริวิวัฒน์มงคล ชั้น ม.6/1 เลขที่ 24

 
นายอภิเษก หริตวร ชั้น ม.6/1 เลขที่ 28

วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2558

ชีววิทยาของเต่าทะเล

               อาหารของเต่าทะเล

 

            เต่าทะเลเป็นสัตว์ที่กินพืชและสัตว์เป็นอาหาร ส่วนเต่าตนุวัยอ่อนจะกินพวกสัตว์เล็กๆ และเมื่อโตขึ้นจะกินพืชเพียงอย่างเดียว ส่วนเต่ากระที่จับมากทำการเลี้ยงไว้นั้นสามารถกินสัตว์ได้ โดยธรรมชาติแล้วจะไม่พบสัตว์ในกระเพาะของมันตากตัวอย่างที่ได้พบเต่าติดอวนและตายลง เนื่องจากคอหักเมื่อผ่าดูและตรวจดูที่บริเวณกระเพาะของมัน ปรากฏว่ามีแต่พืช เช่น สาหร่าย (Sargassum sp.) และ สาหร่ายสีเขียว (green algae) อยู่เป็นจำนวนมาก ไม่พบสัตว์ในกระเพาะเต่าตนุ ซึ่งไม่เหมือนกับเต่ากระที่กินอาหารพวกสัตว์เล็กๆ เช่น แมงกะพรุน กุ้ง ปูปลา หอย และพืช รวมทั้งตะไคร่น้ำตามแนวหินในระหว่างเวลาในตอนกลางวันจะไม่พบเต่าทะเลในบริเวณน้ำตื้น จึงสันนิษฐานได้ว่าเต่าทะเลคงจะหากินในเวลากลางคืนและช่วงเวลานั้นขึ้น แต่ในบางครั้งพบเต่าทะเลในบริเวณน้ำที่มีความลึกประมาณ 13-15 เมตร ในช่วงเวลากลางวัน และด้วยเต่าทะเลเป็นสัตว์ที่ใช้ปอดในการหายใจจึงทำให้บ่อยครั้งที่พบเต่าทะเลขึ้น มาหายใจบนผิวน้ำ เมื่อเต่าทะเลขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำก็จะสามารถปรับหรือลดความดันของบรรยากาศภายในได้รวดเร็ว และไม่เป็นอันตรายอันเป็นคุณสมบัติพิเศษกว่าสัตว์น้ำชนิดยกเว้นสัตว์น้ำที่เลี้ยงลูกด้วยนำบางชนิดเท่านั้น นอกจากนี้เต่าทะเลยังมีสัญชาติญาณอีกหลายประการที่น่าสนใจเช่นการรู้ทิศทางของทะเลในการขึ้นมาวางไข่ หรือแม้แต่ลูกเต่าทะเลที่เพิ่งออกจากไข่และหลุมใหม่ๆจะมีความสามารถรู้ทิศทางในการลงสู่ทะเลได้ถูกต้องและความสามารถที่สำคัญอีกอย่างของเต่าทะเลก็คือการรู้เวลาว่าเมื่อใดเป็นเวลาน้ำขึ้นและน้ำลงซึ่งทำให้้เต่าทะเล สามารถ ระบุเวลาที่เหมาะสมได้เป็นต้น




   การดูอายุของเต่าทะเล
 

 

การดูอายุของเต่า  อายุของเต่าทะเลมิได้ตัดสินกันที่ขนาดตัวของเต่าทะเล  แต่จะพอใช้การสังเกตจากในเต่าทะเลที่มีอายุมาก สีของเกล็ดจะมีสีคล้ำและมีพวกหอยนางลม เพรียงและสิ่งแปลกปลอมเกาะติดที่กระดองหลัง และสังเกตอายุของเต่าทะเลได้จากการดูจำนวนไข่ที่เกิดในเต่าที่มีอายุมากๆ  อาจจะไม่สามารถออกไข่ได้เลย ส่วนในเต่าที่อายุน้อยจะสามารถออกไข่ได้ไม่มากหรือได้จำนวนที่มาก็เป็นได้ นอกจากนี้ขนาดของไข่ก็สามารถบอกอายุได้ ถ้าเป็นไข่ของเต่าทะเลที่มีอายุมากแล้วจะมีขนาดของไข่ที่ใหญ่กว่าในแม่เต่าที่มีอายุน้อยๆ

 
 

วันอังคารที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2558

ทำความรู้จักกับเต่าอะเล

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเต่าทะเล
ประเทศไทย มี  ชนิดที่พบ คือ 
        1.เต่าตนุ
                   
               
        2.เต่ากระ
                        
       3.เต่าหญ้า

                  
      4. เต่ามะเฟือง

                  

วงจรชีวิตของเต่าทะเลห


แหล่งอาศัยของเต่าทะเล


การวางไข่ของเต่าทะเล
               ระยะเวลาในการฟักตัว โดยทั่วไปเต่าทะเลจะฟักตัวประมาณ 2 สัปดาห์ หลังจากการวางไข่ของแม่เต่าทะเล แต่จากการศึกษาพอที่จะสรุปได้ คือ ?เต่ากระจะใช้เวลาในในการฟักตัวเร็วกว่าเต่าชนิดอื่น คือประมาณ 45-53 วัน ?เต่าตนุจะใช้เวลาในการฟักเป็นตัว ประมาณ 47-58 วัน เต่าหญ้าจะใช้เวลาในการฟักเป็นตัวประมาณ 60 วัน เต่ามะเฟือง ใช้เวลาในการฟักเป็นตัว ประมาณ 58-65 วัน

                หลังจากที่ลูกเต่าทะเลฟักออกจากไข่จะยังไม่ออกจากหลุมทันที จนกว่า 2-3 วันผ่านไป ลูกเต่าทะเลจึงจะหันหัวขึ้นในลักษณะเตรียมโผล่พ้นพื้นทราย ตัวใดไม่สามารถโผล่พ้นทรายได้ก็จะตาย และโดยสัญชาติญาณเมื่อลูกเต่าโผล่พ้นทรายมาก็จะลงสู่ทะเลทันที ซึ่งเป็นในช่วงเวลากลางคืน จากการศึกษาลูกเต่าวัยอ่อนอายุประมาณ 2-4 สัปดาห์ พบว่าเมื่อทำการปล่อยลูกเต่าแล้ว ลูกเต่าจะเริ่มว่ายน้ำแข่งกันออกสู่ทะเลลึก แต่มีบางตัวที่ว่ายหลบซ่อนอยู่ตามโขดหินและหมู่ปะการัง และจาการศึกษายังพบอีกว่าลูกเต่าตนุที่มีอายุ ประมาณ 3 เดือนขึ้นไป ลูกเต่าจะมีกระดองที่แข็งและว่ายน้ำได้ว่องไว จะมีขนาดความยาวประมาณ 4-5 นิ้ว ซึ่งเป็นระยะที่ปลอดภัยจาการเป็นอาหารของปลาและนก นอกจากนี้เรื่องเต่าทะเลที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่งก็คือ ลูกเต่าทะเลที่มีขนาดเล็กกว่า 1 กก. จะไม่พบเห็นอยู่ตามธรรมชาติ

                                 สาเหตุการลดลงของเต่าทะเล

โดยมนุษย์ • การใช้ประโยชน์จากเต่าทะเล เช่น เนื้อ ไข่ หนัง กระดอง ไขมัน
การบุกรุกแหล่งวางไข่ เพื่อใช้ประโยชน์ เช่น การท่องเที่ยว
การทำการประมงมีเต่าทะเลติดเครื่องมือประมงโดยไม่ตั้งใจ



โดยธรรมชาติ • ถูกสัตว์ใหญ่กินเป็นอาหาร ขณะเป็นไข่หรือตัวอ่อน เช่น สุนัข ตะกวด นก หนู ปลา ปู
•สภาพแวดล้อมในทะเลเปลี่ยนไป

 



      แนวทางในการอนุรักษ์ • ไม่ใช้ประโยชน์จากเต่าทะเล โดยไม่สนับสนุน ไม่ซื้อหรือใช้ผลิตภัณฑ์จากเต่าทะเล
                                             • ไม่บุกรุกแหล่งวางไข่
                                             • ไม่ทิ้งขยะมูลฝอยลงแม่น้ำและทะเล
                                             • ช่วยกันเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเต่าทะเล
                                             • เข้มงวดต่อกฎหมายอนุรักษ์ และ คุ้มครองเต่าทะเล